วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

จัดทำโดย นางสาววราภรณ์ จันทร์ปรีชาชัย
รหัสประจำตัว 527190582 ศูนย์ราชโบริกานุเคราะห์

ทรงพระเจริญ


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการหญ้าแฝก


หญ้าแฝกจัดเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยจะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizanioides เป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้นเป็นกอหนาแน่น เจริญเติบโตโดยการแตกกออย่างรวดเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร ลักษณะใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 75 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวางแนวลาดเทของพื้นที่ กอซึ่งอยู่เหนือดินจะแตกกอติดต่อกันเหมือนรั้วต้นไม้ สามารถกรองเศษพืชและตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมดินติดอยู่กับกอหญ้าเกิดเป็นคันดินตามธรรมชาติได้ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึกเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกทางด้านข้างและมีจำนวนรากมากจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันแน่นหนาเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน สามารถกักเก็บน้ำและความชื้นได้ ระบบรากแผ่ขยายกว้างเพียง 50 เซนติเมตร โดยรอบกอเท่านั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง จัดเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ดินมีความชื้นและรักษาหน้าดิน เพื่อใช้สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ง่ายน้อยมาก ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมในเขตพื้นที่การเกษตรน้ำฝนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน สามารถน้ำวิธีการนี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่สองข้างของทางคลองชลประทานอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ป้องกันขอบตลิ่ง คอสะพาน ไหล่ถนน เป็นต้น

สำหรับผู้ที่พำนักพักพิงที่นิวาสถาน และทำงานในเมืองมักจะไม่รู้จักหญ้าแฝก แต่สำหรับเกษตรกรที่ทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ หรือชาวสวน จะรู้จักหญ้าแฝกเป็นอย่างดี และคงจะมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เคยนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการมุงหลังคาบ้าน หรือที่พักดังนั้นเราควรทำความรู้จักหญ้าแฝกกันอีกสักนิด


ลำต้น

หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอมีลักษณะเป็นพุ่มใบบางต้นตรงขึ้นสูงมีการขึ้นอยู่เป็นพุ่มใบบางตั้งตรงขึ้นสูงมีการขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่หรือกระจายกันอยู่ไม่ไกลมากนัก กอแฝกมีขนาดค่อนข้างใหญ่โคนกอเบียดกันแน่นเป็นลักษณะเฉพาะอันหนึ่งที่แตกต่างจากหญ้าอื่น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ส่วนโคนของลำต้นจะแบนเกิดจากส่วนของโคนใบที่จัดเรียงพับซ้อนกัน ลำต้นแท้จะมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ในกาบใบบริเวณคอดิน
การเจริญเติบโตและการแตกกอของหญ้าแฝกจะมีการแตกห่อใหม่ทดแทนต้นเก่าอยู่เสมอ โดยแตกหน่อออกทางด้านข้างรอบกอดิน ทำให้กอมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติแล้วหญ้าแฝกมีลำต้นสั้น ข้อ และปล้องไม่ชัดเจนการแตกตะเกียงและการยกลำต้นขึ้นเตี้ย ๆ เหนือพื้นดิน ไม่พบมากในสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในหญ้าแฝกที่ได้จัดปลูกในถุง ในแปลงต้นแก่มากหรือปลูกในพื้นที่วิกฤติ

ใบ

ใบของหญ้าแฝกจะแตกออกจากโคนกอ มีลักษณะแคบยาวขอบใบขนานปลายสอบแหลมแผ่นใบกร้านคาย โดยเฉพาะใบแก่ขอบใบและเส้นกลางใบมีหนามละเอียด (spinulose) หนามบนใบที่ส่วนโคนและกลางแผ่นจะมีน้อยแต่จะมีมากที่บริเวณปลายใบมีลักษณะตั้งทแยงปลายหนามชี้ขึ้นไปทางปลายใบ
กระจังหรือเยื่อกันน้ำฝนที่โคนใบ (Ligule) จะลดรูปมีลักษณะเป็นเพียงส่วนโค้งของขนสั้นละเอียด บางครั้งสังเกตได้ไม่ชัดเจน

ราก

รากเป็นส่วนสำคัญและเป็นลักษณะพิเศษของหญ้าแฝกที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นหลัก หญ้าส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะมีรากที่เป็นลักษณะระบบรากฝอย (fibrous roots) แตกจากส่วนลำต้นใต้ดินกระจายออกแผ่กว้างเพื่อยึดพื้นดินตามแนวนอน (horizontal) มีระบบรากในแนวดิ่ง (vertical) ไม่ลึกมาก แต่ระบบรากหญ้าแฝกจะแตกต่างจากรากหญ้าส่วนใหญ่ทั่วไป คือมีรากที่สานกันแน่นหยั่งลึกแนวดิ่งลงในดิน ไม่แผ่ขนาน มีรากแกน รากแขนง โดยเฉพาะมีรากฝอยแนวดิ่งจำนวนมาก

ช่อดอก (Inflorescence) ดอก (Spikelets)

หญ้าแฝกมีช่อดอกตั้ง ลักษณะเป็นรวง ก้านช่อดอกยาวกลมก้านช่อดอกและรวงสูงประมาณ 100 - 150 ซม. เฉพาะส่วนช่อดอกหรือรวงสูงประมาณ 20 - 40 ซม. แผ่กว้างเต็มที่ 10 - 15 ซม. ช่อดอกของหญ้าแฝกหอมส่วนใหญ่มีสีม่วงซึ่งมีลักษณะปกติประจำแต่ละชนิดพันธุ์
ดอกหญ้าแฝกจะเรียงตัวอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ๆ มีลักษณะคล้ายคลึงและขนาดใกล้เคียง แต่ละคู่ประกอบด้วยดอกชนิดที่ไม่มีก้าน และดอกชนิดมีก้าน ยกเว้นที่ส่วนปลายของก้าน ช่อย่อยมมักจะจัดเรียงเป็น 3 ดอกอยู่ด้วยกัน ดอกไม่มีก้านจะอยู่ด้านกลาง ส่วนดอกที่มีก้านจะชูอยู่ด้านบน
ดอกหญ้าแฝกมีลักษณะคล้ายกระสวย ขอบขนานรูปไข่ ปลายสอบขนาดของดอกกว้าง 1.5 - 2.5 มม. ยาว 2.5 - 3.5 มม. ผิวบนด้านหลังขรุขระมีหนามแหลมขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่บริเวณขอบเห็นได้ชัดเจน เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายด้านล่างผิวเรียบ

เมล็ดและต้นกล้า (Seed and Seedling)

ดอกหญ้าแฝกเมื่อได้รับการผสมแล้ว ดอกที่ไม่มีก้านดอกซึ่งเป็นสมบูรณ์ก็จะติดเมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เป็นรูปกระสวยผิวเรียบหัวท้ายมน มีเนื้อในลักษณะคล้ายแป้งเหนียงจึงสูญเสียสภาพความงอกได้ง่าย เมื่อถูกลมแรง แดดจัด หรือสภาพอากาศวิกฤติเนื้อแป้งเปลี่ยนเป็นแข็งรัดตัวทำให้ไม่สามารถขยายตัวได้
เนื่องจากเมล็ดหญ้าแฝกมีความสามารถในการงอกอยู่ในช่วงระยะเวลาจำกัดเพียงช่วงสั้น ๆ และบางสายพันธุ์ ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศไม่มีเมล็ด จึงทำให้หญ้าแฝกไม่สามารถจะแพร่กระจาย กลายเป็นวัชพืชร้ายแรงได้

หญ้าแฝกมีลักษณะขึ้นเป็นกอ ๆ ทรงพุ่มใบปรกดิน ใบเป็นร่องปลายใบเรียวยาว โคนใบคม กางใบหุ้มห่อกันเป็นโคนต้นมีลักษณะแบนขยายพันธุ์โดยการแตกกอคล้ายตะไคร้ หญ้าแฝกจะย่างปล้องชูช่อดอกสีน้ำตาลแดง หลังจากดอกร่วงที่ข้อของก้านช่อดอกจะแตกแขนงเป็นต้น หญ้าแฝกเล็ก ๆ สามารถกำจัดได้โดยการไถกลบเพียงครั้งเดียว ส่วนหญ้าคาจะขึ้นติดต่อกันเป็นผืน เนื่องจากมีไหลหรือลำต้นใต้ดินสานกันแน่นเจริญเติบโตขึ้นเป็นหน่อ และต้นมีลักษณะกลมหุ้มห่อด้วยกาบใบ ก้านใบกลมกลืน ใบแบน หญ้าคาจะย่างปล้องชูช่อดอกสีขาวนวล เป็นปุยปลิวไปตามลมได้ง่าย เมล็ดงอกขึ้นมาเป็นต้นหญ้าคา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงกำจัดได้ยากแม้มีการไถกลบหลายครั้งก็ตาม



หญ้าแฝกสามารถใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

ต้น/ใบ


กรองเศษพืชและตะกอนดินที่ถูกชะล้างมากักเก็บไว้
ทำวัสดุมุงหลังคา
วัสดุดิบทำกระดาษ
ทำเชือก, เสื่อ, หมวก, ตะกร้า, ฯลฯ
ใช้เป็นอาหารสัตว์พวก แกะ โค กระบือ ฯลฯ
ใช้เป็นวัสดุคลุมดิน, ใช้รองคอกสัตว์
ทำวัสดุเพาะเห็ด ทำปุ๋ยหมัก


ราก
ดูดซับน้ำและรักษาความชุ่มชื้นในดิน
ดูดซับแร่ธาตุ อาหาร/สลายกลายเป็นอินทรียวัตถุในดินทำให้ดินร่วนซุย
ดูดซับสารพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ช่วยทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น
ทำฉาก, ม่านตา, พัด, กระเป๋าถือ
สมุนไพรและเครื่องประทินผิว
กลั่นทำน้ำหอม, ส่วนผสมของสบู่
ป้องกันแมลงและหนู

จากประโยชน์ของหญ้าแฝกดังกล่าวข้างต้น เกษตรกร ประชาชนหรือภาครัฐและภาคเอกชน มีความประสงค์จะขอรับพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อปลูกในพื้นที่อนุรักษ์ดินและน้ำและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสามารถติดต่อรับพันธุ์หญ้าแฝกได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตหรือสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 ศูนย์ ที่มีอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ที่มา : http://online.benchama.ac.th/webcontest/donmoddaeng2/p8.html

9 กุมภาพันธ์ 53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น